การแข่งขันกีฬาในระดับสมัครเล่น เชื่อว่ามหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต้องเป็นโอลิมปิกอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ไม่ว่าจะเป็นโอลิมปิกฤดูร้อน หรือ โอลิมปิกฤดูหนาวขอให้ได้ไปเถอะนั่นเป็นงานระดับโลกทั้งนั้น แต่นอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว โอลิมปิก อีกประเภทหนึ่งก็มีด้วยนั่นคือ โอลิมปิก วิชาการ การแข่งขันแบบนี้คืออะไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง เราจะมาเล่าให้ฟังกัน
โอลิมปิกวิชาการ มันคืออะไร
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อน การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ก็เหมือนกับการแข่งขันตอบปัญหาทางด้านวิชาการที่มีการแข่งขันกันถึงระดับโลกเลยทีเดียว ซึ่งการแข่งขันจะแบ่งเป็นกลุ่มวิชาการทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ แบ่งออกเป็น 12 สาขาวิชาดังนี้ คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี , คอมพิวเตอร์, ชีววิทยา, ปรัชญา, ดาราศาสตร์, ภูมิศาสตร์, ภาษาศาสตร์, โลกและอวกาศโอลิมปิก, ดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสองรุ่นคือ รุ่นมัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย
การคัดเลือก
การเข้าร่วมแข่งขันมหกรรมวิชาการในครั้งนี้ จะต้องเป็นการแข่งขันที่ส่งในนามตัวแทนประเทศไทยเท่านั้น โดยแต่ละวิชาจะแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4-6 คน เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ด้านประเทศไทยของเราการแข่งขันดังกล่าว ฝ่ายจัดการแข่งขันและคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยก็คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นคนจัดการ ร่วมกับมูลนิธิ สอวน. ย่อมาจากคำว่า มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
สำหรับการคัดเลือกในประเทศไทยนั้นถือว่าเข้มข้นมาก การคัดเลือกจะเริ่มจากการสอบคัดเลือกรอบทั่วไป เพื่อคัดกรองจากนักเรียนที่สนใจทั่วประเทศ ซึ่งการสอบคัดเลือกจากเด็กทั่วประเทศหลายพันคนจากนั้นเด็กที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะต้องเข้าไปสอบเพื่อเข้าไปอบรมค่ายความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ เรียกว่า ค่าย สอวน.(จะมีสองระดับ) ซึ่งจะมีศูนย์กระจายอยู่ทั่วประเทศ จากนั้นก็จะต้องสอบให้ผ่านคะแนนของค่ายเหล่านั้น เมื่อผ่านค่ายระดับสอง เราก็ต้องไปทำเหมือนเดิมอีกครั้งกับค่ายระดับหนึ่งที่ยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งถ้าผ่าน เราถึงจะมีสิทธิ์ไปสอบคัดเลือกอีกครั้ง เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ไม่ง่ายเลยใช่ไหม กว่าจะเป็นสุดยอดนักเรียนสายบุ๋นสาขาทางวิทยาศาสตร์ต้องแข่งขันกันอย่างหนักมาก
แตกต่างกันอย่างไร
หลายคนอาจจะสงสัยว่า โจทย์ระดับโอลิมปิกวิชาการแตกต่างจากโจทย์ทั่วไปอย่างไร ง่ายๆ เลยอย่างแรกโจทย์เป็นภาษาอังกฤษ และความยาวนี่ยาวมาก บางข้อยาวเป็นหน้ากระดาษเลย คำถามไม่ใช่การถามเพื่อความจำอย่างเดียว เป็นการถามเพื่อมองหาคำตอบแบบเป็นกระบวนการทางความคิดมากกว่า ซึ่งกว่าจะตอบได้ไม่ง่ายนักแม้ว่าจะเป็นผู้ใหญ่มาตอบก็ตาม แต่หากใครทำได้ก็แสดงว่าเค้าคือสุดยอดของนักวิชาการโอลิมปิกในปีนั้นไป